วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฟื้นฟูของดีเมืองโกตา


    เด็กหญิง คอรีเย๊าะ  เปาะหารง  ชั้น ม. 2/3  

          เลขที่  10

เรียงความ      เรื่อง...ฟื้นฟูของดีเมืองโกตา

             เทศบาลตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นประธานเปิดงานของดีเมืองโกตาบารู เทิดไท้องค์ราชัน องค์ราชินี โดยมี นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร นายอำเภอรามัน นายแวหะมะ การีอุมา นายกเทศบาลตำบลโกตาบารู พร้อมด้วยพี่น้องประชาชนในพื้นที่อำเภอรามันให้การต้อนรับ และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีขบวนพาเหรดตกแต่งสีสันสวยงามเป็นสัญลักษณ์ของดี เมืองโกตาบารูทั้ง 9 ชุมชน มีการแสดงนิทรรศการต่างๆ รวมถึงมีการแสดงบนเวทีมากมาย เช่น การแสดง สิละศิลปะการต่อสู้ของชาวมลายู อีกด้วย
                เมืองโกตาบารูเดิมเป็นเมืองที่เจริญอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมี ทั้งช้าง ป่าไม้ ทอง และแร่ทับทิม มีกองทหารที่กล้าหาญ องอาจ มีอาณาเขตขยายกว้างไปถึงเมืองเปอร์ลิสของมาเลเซีย ปัจจุบันเมืองโกตาบารูเป็นแหล่งสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมากมาย อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีช่างฝีมือดีในด้านการทำแหวน และเครื่องประดับต่างๆ ศิลปะการแสดงสิละอันทรงคุณค่า ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงแหล่งอารยธรรมอันเก่าแก่ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาได้เสนอให้มีการจัดตั้งอำเภอใหม่ คือ อำเภอโกตาบารู ซึ่งได้ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการขั้นตอนต่างๆ แล้ว โกตาบารูก็จะกลายเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระองค์การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนภูมิภาคให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การจัดงานครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นงานที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดบริการสาธารณะเพื่อ เป็นประโยชน์สำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่
                การจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากองค์กรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแสดงออกถึงความมีอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีของประชาชนในพื้นที่และนำไปสู่ตำบลสันติสุขรวมถึงเพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ร่วมเทิดไท้องค์ราชันและองค์ราชินีที่ทรงทุ่มเทเพื่อปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด














ความสวยงามของน้ำตกตะวันรัศมี

         เด็กหญิง   อัฟนาน   นามสกุล     มะเซ็ง        ชั้น ม.2/3       เลขที่  8
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา
เรียงความเรื่อง   ความสวยงามของน้ำตกตะวันรัศมี


น้ำตกตะวันรัศมี ตั้งอยู่ที่  บ้านปีแยะ หมู่ที่ 6   ตำบลบือมัง  อำเภอ รามัน   จังหวัด ยะลา 
น้ำตกตะวันรัศมีนี้มีผู้คนมาเที่ยวมาเล่นน้ำมากมาย  น้ำตกตะวันรัศมีเป็นเนินเขา  มีอากาศบริสุทธิ์    
น้ำตกมีธรรมชาติล้อมรอบและสวยงามมาก
         น้ำตกนี้เป็นน้ำตกที่สวยงามมีชาวบ้านในละแวกนั้นไปเที่ยว  น้ำตกนี้ผู้มาเที่ยวเกือบทุกวัน     รวมถึงหนูด้วย  น้ำตกนี้มีบรรยากาศดี  วิวก็สวย  สามารถสร้างความทรงจำดี ๆให้กับผู้มาเยือนน้ำตกนี้  และสามารถปิกนิค  กินข้าวกับกับเพื่อนๆ กับครอบครัวและสามารถเดินเล่น  ตากลม  ชมวิว  แก้เบื่อ  แก้เซ็ง น้ำตกตะวันรัศมีเป็นน้ำตกที่สูงสวยและน้ำสวยมาก ๆ  มีทั้งหมด 2 ชั้น ข้างบนจะมีน้ำเชี่ยวหน่อย  ผู้คนจะไม่ค่อยไปเล่นข้างบนเพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อลูกหลานได้ คนจึงเล่นชั้นข้างล่างเพราะน้ำที่ข้างล่างไม่ค่อยจะเชี่ยวและน้ำก็สวยใส มีปลาตัวเล็ก ตัวใหญ่ ๆว่ายเล่นกันช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าเที่ยวอีกด้วยน้ำตกนี้เป็นที่ลือของชาวรามันและชาวยะลาเป็นอย่างมาก  อยากให้ประชาชนทั้งหลายมาเที่ยวน้ำตกแห่งนี้เพราะมีบรรยากาศดีๆ สวยงามมากน้ำสะอาดใสยิ่งกว่าน้ำอยู่ในแก้วอีก เหมาะสำหรับน้องๆพี่ๆมาเที่ยวในช่วงปิดเทอมเพราะอากาศร้อนๆมาเล่นน้ำตกทำให้เราสดชื่นและผ่อนคลายได้ ถ้าเพื่อนๆคนใดอยากมาเที่ยวชวนเพื่อนคนนี้ได้  มาเที่ยวอย่างเดี่ยวไม่พอเราได้เกิดการเรียนรู้อีกด้วย ที่ขาดไม่ได้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเรา ยังไม่พอได้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของน้ำตกตะวันรัศมีอีกด้วย ทำให้เราได้เรียนรู้พลังงานอีกด้วยเพราะชาวบ้านเอาน้ำตกนี้ไปทำเกี่ยวกับเกษตรกรรมและการทำประปาของหมู่บ้านอีกด้วย
         หนูเป็นส่วนประชากรส่วนหนึ่งของตำบลบือมัง  หนูจึงอยากชวนเพื่อนๆ พี่ ๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมาเล่นน้ำตกแห่งนี้เยอะ ๆ เพราะน้ำตกแห่งนี้เป็นจุดเด่นตำบลของหนู  และหนูรักภูมิใจในน้ำตกแห่งนี้ด้วยค่ะ













วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยะหาบ้านเกิด




ชื่อ เด็กหญิง กูมาริสา นามสกุล บือซา  ชั้น 2/3


โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยาเรื่อง ยะหาบ้านเกิด




          พื้นที่ของอำเภอยะหาแยกมาจากอำเภอเมืองยะลาในปี พ.ศ. 2481 สมัยหลวงรัชกาลประดิษฐ์ (แปะ) เป็นเจ้าเมืองยะลา และหมื่นเสนานุรักษ์ (ประดิษฐ์ สุภอักษร) ปลัดเมืองยะลา

          ในขณะนั้น ได้เลือกตำบล ยะหา เป็นที่ตั้งว่าการอำเภอยะหา โดยแบ่งเนื้อที่ออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา ตำบลตาชี ตำบลบาโงยซิแน ตำบลสะเอะ ตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต ตำบลซีเยาะ ตำบลบาโงย ตำบลชะเมาะ และตำบลลาบู พ.ศ. 2443 หลวงภักดีรณฤทธิ์ นายาอำเภอยะหาขณะนั้น ได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบบางตำบลรวมกันอีกตำบลเข้าด้วยกัน คือ ยุบตำบลซีเยาะรวมกับตำบลบาโงยซิแน และยุบตำบลชะเมาะรวมกับตำบลละแอ และจากประวัติของตำบลปะแตเชื่อว่าพื้นที่ตำบลปะแต เป็นที่เนินสูง แต่เดิมมีต้นสะตอต้นหนึ่งชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "บ้านบือแต" แปลว่า "บ้านต้นสะตอ" ต่อมาเมื่อพื้นที่แถบนี้เจริญขึ้น จึงได้มีชาวบ้านจากจังหวัดปัตตานี เข้ามาทำกินในหมู่บ้านแห่งนี้และเปลี่ยนชื่อเรียกพื้นที่แห่งนี้จาก "บือแต" เป็น "ปะแต" ซึ่งแปลว่า หาด ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าคำว่าปะแต มีความหมายที่ดีและเป็นคำที่ไพราะกว่า     จึงเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น "ปะแต" จนถึงทุกวันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปะแต จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่ทำการตั้งอยู่ หมู่ที่6 ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4070 ระหว่างกิโลเมตร 0-8 อยู่ห่างจากอำเภอยะหา 8 กิโลเมตร  ชาวบ้านแถวนี้มีอาขีพปลูกสวนยางพารา ปลูกลองกอง ปลูกทุเรียน  ปลูกเงาะ  ปลูกลางสาด  ปลูกผักสวนครัวอีกด้วยเพื่อเป็นการเพื่มรายได้  มีการปลุกสะตอ  และที่ขาดไม่ได้  มีทหารคอยดูแลประชาชนในละแวกนี้  มีข้าราชการมาให้ความช่วยเหลือตลอด  มีภูเขาที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ประชากรช่วยกันทำมาหากิน  รักใคร่กันซึ่งกันและกัน

 

 

          ฉันภูมิใจที่ได้มาอยู่ตำบลนี้ เพราะต้นไม้ก็เยอะอยู่ใกล้ๆภูเขาและเป็นตำบลที่สะอาดร่มเย็น โดยคนทั่วไปส่วนมากก็จะมาเที่ยวที่ยะหาเพราะที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและพืชผักผลไม้ก็เยอะและเป็นที่รู้จักของคนยะหาเป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

























































































































































































































































































































































































































































































วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หมู่บ้านลูโบ๊ะลาบีสะดวกสบาย

เด็กหญิง  ฟีดะ  นามสกุล     มารอดายอ    ชั้น ม.2/3       
โรงเรียนศรีฟารีดาบารู
 เรื่อง   หมู่บ้านลูโบ๊ะลาบีสะดวกสบาย

หมู่บ้านของฉันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แล้วก็เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากตำบลมากใช้เวลาพอสมควร และห่างไกลความเจริญแต่หมู่บ้านของฉัน เป็นหมู่บ้านที่อบอุ่น ปลอดยาเสพติด มีน้ำใจซึ่งกันและกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งตำบลของของฉันแบ่งออกเป็น 4 หมู่บ้าน   บาโงย  ปาโล๊ะ  ลูโบ๊ะลาบี ยือโร๊ะ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทำไร่ทำสวน ทำโรงงานขนมปังขาย และรับจ้างทั่วไป แต่หมู่บ้านของฉันไม่ค่อยมีร้านค้าและปั้มน้ำมัน
ฉันคิดว่ามันน่าจะมีร้านค้าสักร้าน แล้วก็ปั้มน้ำมันสักปั้ม เพราะว่าเวลาจะซื้อของแต่ละที ฉันต้องขับรถไปซื้อที่ตัวตำบล ซึ่งก็ประมาน 4-5 กิโลเมตร  และปั้มน้ำมันก็อยู่ที่ตัวตำบลเหมือนกันซึ่งถ้าบางที่ฉันต้องใช้น้ำมันแบบเร่งด่วน มันก็ยากมาก เพราะกว่าจะขับรถไปซื้อได้ ก็ใช้เวลามากพอสมควรฉันจึงอยากมีร้านค้าสักร้านของตัวเอง  เป็นที่หมู่บ้านของฉัน ชาวบ้านจะได้สะดวกสบายในการซื้อของ แล้วก็อยากมีปั้มน้ำมันตั้งที่หมู่บ้านสักร้าน แต่ถ้าเปิดปั้มน้ำมัน มันต้องมีการใช้จ่ายมากพอสมควรฉันคิดว่า เอาตู้น้ำมันหยอดเหรียญมาลงที่หมู่บ้านสักตู้ ก็อาจจะดีสำหรับชาวบ้านมาก เพราะจะได้ช่วยประหยัดเวลาซื้อน้ำมันอีกด้วยรายที่ดีรายได้ของหมูบ้านโรตีบังแอ ทุกคนได้มาชิมโรตีปรากฏว่าติดใจ เป็นรายได้อย่างดีของคนในหมู่บ้านแห่งนี้ โรตีขึ้นชื่อมากประจักษ์ในชุมชนเป็นที่เล่าลือของทั่วไปและกีฬาเป็นที่รู้จักของคนในอำเภอรามันเช่นกีฬาฟุตบอลได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันระดับอำเภอและจังหวัดทำให้น้องๆอยากเล่นกีฬามากคนในหมู่บ้านนี้ชื่นชมกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างดี  กีฬาตะกร้อก็เป็นที่เล่าลือเพราะเคยได้รางวัลชนะเลิศในการแข่งตาดีกาสัมพันธ์และไปแข่งขันในระดับอำเภออีกด้วย   ในหมู่บ้านของหนูโรตีเป็นรายได้สูงที่สุดในขณะนี้
ดังนั้นถึงแม้ว่าหมู่บ้านลูโบ๊ะลาบีของฉันจะไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ทุกคนในหมู่บ้านก็มีความสุขมากพอมีพอกินและดิฉัน    ภูมิใจมากที่ได้สร้างร้านค้าละปั้มน้ำมันไปกับชาวบ้าน


























ยะต๊ะบ้านเกิดของฉัน

เด็กหญิง  นัสรี  สกุล  สามะแก  ชั้น ม 2/3  เลขที่ 17
โรงเรียน ศรีฟารีดาบารูวิทยา
เรื่อง   ยะต๊ะบ้านเกิดของฉัน

              บ้านยะต๊ะ อยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลยะต๊ะ เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่กว่า มีการเรียกชื่อตามกลุ่มหมู่บ้าน ที่ได้ตัดช่วงๆ จำนวน 6 หมู่บ้าน ซึ่งจะเรียกชื่อตามกลุ่มหมู่บ้านและเรียกชื่อตามลักษณะของพื้นที่ ผู้นำหรือชื่อต้นไม้ที่มีมากในสมัยนั้น

             บ้านกำปงปาแย เดิมที่เป็นบ้านเดียวกันกับยะต๊ะ เนื่องจากมีพื้นที่กว่ามากและในพื้นที่มีอาชีพทำนาและสวนพื้นที่ทำนาจะอยู่ตรงกลางหมู่บ้านต่อมาจึงแยกออกเป็นอีกบ้านใหม่ เรียกว่า กำปงปาแย . บ้านบาโงโด๊ะ แต่เดิมนั้นรียกว่า บ้านอาเหอูโต๊ะ เป็นพื้นที่สูงและเกิดการพังทลายของน้ำ จนเป็นที่ราบ (อาเห แปลว่า น้ำ อูโต๊ะ แปลว่า พังทลายของน้ำซึงแปลรวมกันว่า พื้นที่ที่พังทลายจากน้ำ) หลังจากนั้นได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง เข้าไปตั้งรกราก และอาศัยอยู่ เขาจึงเรียกชื่อใหม่ว่า บาโงโด๊ะ (บาโง แปลว่า ที่สูง โด๊ะ แปลว่า อาศัยอยู่ ) จนถึงปัจจุบัน. บ้านบือแนชือมิ ตั้งชื่อตามผู้ที่ไปบุกเบิกและอาศัยอยู่ซึ่งพื้นที่นี้เป็นที่ราบ และมาทำนาเป็นครั้งแรก ( บือแน แปลว่า นา ชือมิ เป็นชื่อของผู้บุกเบิก). บ้านกามูติง เรียกชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งมีลักษณะลูกลม ข้สงงในมีเมล็ด ถ้าสุกจะมีสีดำออกม่วง แต่ถ้าดิบจะมีสีเขียว ส่ามารถกินได้รถชาติขม-ปาก และออกหวานนิดๆ ลักษณะของต้นไม่สูงนัก ใบกลมๆเรียวๆ ลักษณะคล้ายดอกไม้ซึ่งเต็มในพื้นที่.  บ้านปาแลฮีเล เนื่องจากว่าปาแลนั้นเรียกตามชื่อของผู้นำการบุกเบิก และที่นับถือของชุมชน จะเรียกว่า ปาแล ต่อมาเพี้ยน เป็น ปาแลฮีเล หมายถึง ทางทิศใต้. บ้านบาโงตือมุ จะเรียกตามพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่สูง ต่อมามีการเดินทางไปมาหาสู่กัน และใช้เส้นทางของพื้นที่สูง โดยการทะลุ เพื่อการทำมาหากิน เดินทางสะดวกและเร็วขึ้น จึงเรียกว่า บาโงตือมุ (บาโง แปลว่า พื้นที่สูง ตือมุ แปลว่าทะลุ) เช่นการทำนา มีการทำนาปรัง  มีการทำนาปี ประชาชนรวมกันทุกปีในการทำนา เพราะการทำนาเป็นอาชีพของคนในยะต๊ะและข้าวเป็นอาหารหลักของคนในหมู่บ้านนี้สามรถเป็นรายได้ของประชาชน  การทำสวนยางพาราเป็นรายได้อันดับหนึ่งของหมูบ้านอาชีพที่ดีที่สุดในหมู่บ้านนี้ทำให้ประชาชนมีรายได้เป็นล้านต่อปีและอาชีพ ณ  ตอนนี้ได้ปลูกข้าวโพดกับแตงโมทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปลูกแตงโมเกือบทุกบ้าน


            ดังนั้นหมู่บ้านของฉันมีหลายชุมชน และแต่ละชุมชน ก็มีความสามัคคี ซึ่งกันและกันและดิฉันก็รู้สึกภูมิใจที่ได้อยู่ในตำบลยะต๊ะนี้ ที่มีพื้นที่กว้างมาก และดีใจที่ได้อยู่ในชุมชนนี้ ซึ่งในชุมชนนี้ก็จะมีผักสีเขียวเพื่อทำมาหากินได้อย่างสะดวก ถึงแม้ว่า ชุมชนของฉันนั้นมีเหตุการณ์มาก แต่ทุกคนก็มีวิธีการแก้ปัญหาได้ กับปัญหาที่เกิดขึ้น ในชุมชนของฉันหรือในตำบล ยะต๊ะ 





มาแฮหมู่บ้านสันติสุข

ชื่อ  เด็กหญิง  รอหานา    ลียะ ชั้น ม. 2/เลขที่  28
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา
เรื่อง   มาแฮหมู่บ้านสันติสุข

          หมู่บ้านของดิฉันมีชื่อว่าบ้านมาแฮ  ซึ่งคำว่ามาแฮมาจากต้นมาแฮ  บ้านมาแฮอยู่ตำบลบือมัง  อำเภอรามัน   จังหวัดยะลา  ซึ่งตำบลบือมังมีทั้งหมด 6 หมู่  แต่บ้านของดิฉันอยู่ในหมู่ 4   หมู่บ้านของดิฉันเป็นหมู่บ้านที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีครอบครัวที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยสัตว์ต่างๆ
          ในหมู่บ้านของดิฉันมีความสามัคคีและมีครอบครัวที่อบอุ่น  น่าอยู่  และมีธรรมชาติที่สวยงาม  หมู่บ้านของดิฉันมีประเพณีต่างๆ  เช่น  การทำอาซูรอ  เมาลิต  และอีกมากหมาย  และมีสถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้าน คือ น้ำตกฉัตรมงคล และหมู่บ้านของดิฉันได้จัดกีฬาอบต.ในทุกๆปี  ได้แก่  กีฬาฟุตบอล  กีฬาวอลเลย์บอล  แชร์บอล  ชักเย่อ  วิ่งกระสอบ  วิ่งเปรี้ยว  เป็นต้น  หมู่บ้านของดิฉันมีมัสยิดที่สวยงาม  โรงเรียนและตาดีกา  ยังมีการสอนอัล-กุรอานเพื่อจะสอนให้ลูกหลานของหมู่บ้านเพื่ออ่านอัลกุรอานได้คนในหมู่บ้านจะมีอาชีพเป็นของตัวเอง  เช่น  ค้าขาย  รับจ้าง  ทำสวน  ทำไร่-ทำนา  หมู่บ้านของดิฉันอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

           ดิฉันดีใจที่ได้เกิดในหมู่บ้านนี้  เพราะหมู่บ้านของดิฉันสงบสุข  ผู้คนในหมู่บ้านมีความรักใคร่ปรองดองกันและสามัคคีกันและคนในหมู่บ้านอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงมีความรักความผูกพันกัน  หมู่บ้านนี้จึงน่าอยู่และเจริญก้าวหน้าต่อไป








ความผูกพันชุมชนทาเนาะปือเราะห์

ชื่อ  เด็กหญิง   รอซือนี       ลียะ        ชั้น ม. 2/3     
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา

เรื่อง       ความผูกพันชุมชนทาเนาะปือเราะห์
          ชุมชน  หมายถึง  คนที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นหมู่บ้านและอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว   ชุมชนของดิฉันชื่อทาเนาะปือเราะห์อยุ่ตำบลบือมัง   อำเภอรามัน   จังหวัดยะลา   ในหมู่บ้านของดิฉันมีแต่ครอบครัวที่อบอุ่นและสามัคคีกันรักใคร่ปรองดองกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่ด้วยกันได้  คนในชุมชนให้ความรักความผูกพันต่อเพื่อนบ้านและคนในชุมชน หมู่บ้านของดิฉันเป็นหมู่บ้านที่สะอาดอุดมไปด้วยพืชผักสีเขียว   ทุ่งนา   มีสัตว์หลายๆชนิดและคนในหมู่บ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข           
           ในชุมชนของดิฉันมีความรักความสามัคคีและมีความอบอุ่น  สะอาด  น่าอยู่  อากาศดี  ธรรมชาติสวยงามและมีความสันติสุข  คนในชุมชนนับถือศาสนาอิสลามเชื้อชาติไทย  รักชาติ รักบ้านเมืองรักประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่อบ้านเมือง  รักครอบครัวของตนเองมีความซื่อสัตย์สุจริต  ศรัทธาต่อศาสนาของตนเองนับถือ  ชุมชนของดิฉันมีประเพณีหลายประเพณี  เช่น  การทำอาซูรอสัมพันธ์  เมาลิตและอีกหลายประเพณี  ชุมชนของดิฉันจะมีสถานที่สำคัญของชุมชน คือ สถานีอนามัย1แห่ง  โรงเรียนระดับอนุบาลและระดับประถม1แห่ง  มัสยิด1แห่ง และที่สำคัญจะมีศูนย์ศึกษาอัลกุรอานของชุมชนเพื่อที่จะสอนให้บุตรหลานอ่านอัลกุรอานได้  มีการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะให้บุตรหลานในชุมชนมีความรู้เพื่ออนาคตในวันข้างหน้า  คนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง  เช่น  อาชีพทำสวน  ค้าขาย รับจ้าง  ทำไร่-ทำนา  เป็นต้น  ส่วนใหญ่คนในชุมชนจะปลูกต้นยางพาราเป็นจำนวนมาก  ชุมชนของดิฉันจะอยู่แบบเศรษฐกิพอเพียง  อยู่อย่างประหยัด  ทำมาหากินกัน  คนในชุมชนส่วนใหญ่จะมีการปลูกพืชผักเอง  ชุมชนของดิฉันมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุข  ในชุมชนเต็มไปด้วยทุ่งนาที่สวยงาม  มีความเจริญก้าวหน้าไปในทางที่ดีและมีความสันติสุข                           
           ดังนั้น  ชุมชนของดิฉันมีการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกันทุกคน  และรักประเพณีของศาสนาของตนเองนับถือที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ  ชุมชนของดิฉันมีคนที่นับถือศาสนาอิสลามกันทุกคน   ดิฉันชอบชุมชนของดิฉันเพราะเป็นบ้านเกิดของดิฉันและเป็นชุมชนที่มีความสุข  สภาพความเป็นอยู่ก็ดี  ผู้คนในชุมชนก็มีจิตใจดีให้ความรักความผูกพันต่อมนุษย์ด้วยกัน  เป็นชุมชนที่สะอาดมีความสันติสุขและมีความอบอุ่นดี



















วิถีชีวิตของชุมชนนิบงบารู

เด็กหญิง   อารีดา   นามสกุล   อาแซ   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2/3   เลขที่   26
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยาเรียงความ:วิถีชีวิตของชุมชนนิบงบารู


กำปงนิบงบารู ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนได้ตั้งชื่อไว้ และเป็นกำปงที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้หลายๆชนิด และเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านมักจะมาพักอาศัยอยู่ และในสมัยนี้ได้มีการเลี่ยนแปลงอย่างมากในกำปงนิบงบารู เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้น และมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา เช่น ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้นกำปงนิบงบารูเป็นชุมชนบ้านเกิดของฉัน ซึ่งอยู่ในตำบล สะเตงนอก อำเภอ เมือง จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000 ฉันใช้ชีวิตในชุมชนของฉัน และในชุมชนของฉันก็มักจะมีกิจกรรมต่างๆในทุกๆปีและฉันชอบที่จะไปทำกิจกรรม และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในชุมชนนิบงบารูก็จะมาทำกิจกรรมร่วมกันด้วย และเมื่อมีการทำอาซูรอทุกคนก็จะมารวมตัวกันพร้อมของที่จะมาทำอาซูรอคนละนิดคนละหน่อย อย่างเช่น น้ำตาล กล้วย ข้าวสาร แครอท ข้าวโพด เผือกมัน เป็นต้น และเอามารวมกันจนได้ของเยอะ และเอามาใส่ในกระทะรวมกัน และกวนจนเข้ากัน และทุกคนก็ต่างมากวนคนละไม้คนละมือ จนอาซูรอสุก และพักรอจนอาซูรอเย็นพอที่จะแบ่งให้กับทุกคนได้ หลังจากนั้นผู้ใหญ่บ้านก็ได้เรียกทุกคนมาประชุม ณ โรงเรียนตาดีกา และได้ทำการเมล็ดพันธุ์พืชหลายชนิดมาแจกกับประชาชนเพื่อทำการเกษตร และได้สอนการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชด้วย และพร้อมแจกยาฆ่ายุง เพราะยุงลายเยอะมาก จึงมีคนในชุมชนเป็นโรคไข้เลือดออก และได้แพร่ระบาดอย่างมาก จึงมีการแจกยาฆ่ายุง และบอกวิธีการใช้ และทุกคนก็จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และจะได้มี่ใครเจ็บไข้ได้ป่วยอีกชุมชนนิบงบารูหรือกำปงนิบงบารู เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ และฉันจะดูแลรักษาความสะอาด จะทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง และชุมชนของฉันก็จะเป็นชุมชนที่น่าอยู่ และทุกคนในชุมชนก็จะปฏิบัติตามกฎของผู้ใหญ่บ้าน และทุกคนก็จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และฉันอยากจะให้ชุมชนนิบงบารูยังคงสภาพแบบนี้ไปอีกนาน แลฉันอยากให้ชุมชนในนิบงบารูช่วยกันรักษาความสะอาด และคงสภาพคงเดิมของชุมชนนิบงบารูตลอดไป