วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยะหาบ้านเกิด




ชื่อ เด็กหญิง กูมาริสา นามสกุล บือซา  ชั้น 2/3


โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยาเรื่อง ยะหาบ้านเกิด




          พื้นที่ของอำเภอยะหาแยกมาจากอำเภอเมืองยะลาในปี พ.ศ. 2481 สมัยหลวงรัชกาลประดิษฐ์ (แปะ) เป็นเจ้าเมืองยะลา และหมื่นเสนานุรักษ์ (ประดิษฐ์ สุภอักษร) ปลัดเมืองยะลา

          ในขณะนั้น ได้เลือกตำบล ยะหา เป็นที่ตั้งว่าการอำเภอยะหา โดยแบ่งเนื้อที่ออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา ตำบลตาชี ตำบลบาโงยซิแน ตำบลสะเอะ ตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต ตำบลซีเยาะ ตำบลบาโงย ตำบลชะเมาะ และตำบลลาบู พ.ศ. 2443 หลวงภักดีรณฤทธิ์ นายาอำเภอยะหาขณะนั้น ได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบบางตำบลรวมกันอีกตำบลเข้าด้วยกัน คือ ยุบตำบลซีเยาะรวมกับตำบลบาโงยซิแน และยุบตำบลชะเมาะรวมกับตำบลละแอ และจากประวัติของตำบลปะแตเชื่อว่าพื้นที่ตำบลปะแต เป็นที่เนินสูง แต่เดิมมีต้นสะตอต้นหนึ่งชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "บ้านบือแต" แปลว่า "บ้านต้นสะตอ" ต่อมาเมื่อพื้นที่แถบนี้เจริญขึ้น จึงได้มีชาวบ้านจากจังหวัดปัตตานี เข้ามาทำกินในหมู่บ้านแห่งนี้และเปลี่ยนชื่อเรียกพื้นที่แห่งนี้จาก "บือแต" เป็น "ปะแต" ซึ่งแปลว่า หาด ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าคำว่าปะแต มีความหมายที่ดีและเป็นคำที่ไพราะกว่า     จึงเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น "ปะแต" จนถึงทุกวันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลปะแต จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2539 ที่ทำการตั้งอยู่ หมู่ที่6 ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4070 ระหว่างกิโลเมตร 0-8 อยู่ห่างจากอำเภอยะหา 8 กิโลเมตร  ชาวบ้านแถวนี้มีอาขีพปลูกสวนยางพารา ปลูกลองกอง ปลูกทุเรียน  ปลูกเงาะ  ปลูกลางสาด  ปลูกผักสวนครัวอีกด้วยเพื่อเป็นการเพื่มรายได้  มีการปลุกสะตอ  และที่ขาดไม่ได้  มีทหารคอยดูแลประชาชนในละแวกนี้  มีข้าราชการมาให้ความช่วยเหลือตลอด  มีภูเขาที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ประชากรช่วยกันทำมาหากิน  รักใคร่กันซึ่งกันและกัน

 

 

          ฉันภูมิใจที่ได้มาอยู่ตำบลนี้ เพราะต้นไม้ก็เยอะอยู่ใกล้ๆภูเขาและเป็นตำบลที่สะอาดร่มเย็น โดยคนทั่วไปส่วนมากก็จะมาเที่ยวที่ยะหาเพราะที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและพืชผักผลไม้ก็เยอะและเป็นที่รู้จักของคนยะหาเป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

























































































































































































































































































































































































































































































3 ความคิดเห็น:

  1. คุณครูได้ตรวจงานครั้งที่ ๑ นักเรียนได้คะแนน ๑๙ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน
    อยากให้นักเรียนแก้ไขและเพิ่มเนื้อหาอีกให้สอดคล้องกับรูปด้วย

    ตอบลบ
  2. คุณครูได้ตรวจงานครั้งที่ ๒ นักเรียนได้คะแนน ๒๐ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ให้นักเรียนไปเพิ่มเนื้อหาก่อนที่จะลงและให้จัดวางให้ดีและทำให้ถูกต้องด้วย

    ตอบลบ
  3. คุณครูได้ตรวจงานครั้งที่ ๓ นักเรียนได้คะแนน ๒๓ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน ให้นักเรียนไปเพิ่มเนื้อหาก่อนที่จะลงและให้จัดวางให้ดีและศึกษาการเขียนเรียงความ

    ตอบลบ